วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ฟุตบาท มันเป็นของใครกันแน่?


     ทุกวันนี้ผมยังคงคิดว่าฟุตบาทมันเป็นของส่วนบุคคล โดยมีเจ้าหน้าที่เทศกิจคอยดูแลเก็บค่าที่อยู่ ซึ่งเราจะไประเมิดความเป็นส่วนบุคคลเขาไม่ได้ แต่ก็มาคิดอีกทีว่าไอ้ฟุตบาทนี่นะมันใครเป็นคนสร้างคนทำขึ้นมาวะ แล้วเอาเงินจากที่ไหนมาสร้างมาทำกันแน่ แล้วพวกเทศกิจละเอาเงินเดือนมาจากไหน? ใครจ่ายให้
     สรุปก็คือ เงินภาษีของประชาชนทั้งนั้น
     แล้วมีสิทธิอะไรที่เข้ามายึดครอง ใช้เป็นของส่วนตัว กีดกันทางเดินของผู้คน ทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนกัน

แล้วสรุปว่า ฟุตบาท มันเป็นของใครกันแน่?
............................................................
ผมเก็บบทความจากปี 53 มาให้อ่านกันครับ
"
วันก่อนอ่านข่าวพ่อค้าแม้ค้าสยามประท้วงจุฬาไล่ไม่ให้ขายบนทางเท้า สะดุดกับแผ่นป้ายแผ่นหนึ่งข้อความ “ตกลงทางเท้าเป็นของใคร” ทำนองว่าจุฬามีสิทธิ์อะไรมาไล่ ผมไม่ก้าวล่วงว่าสิทธิ์เป็นของจุฬาหรือของพ่อค้าแม่ค้า แต่อยากจะถามถึงสิทธิ์ของคนเดินทางเท้าบ้างว่ายังมีอยู่หรือ ทางเดินเท้ากับการขายของอยู่คู่กรุงเทพมาหลายทศวรรษ ผมไม่ปฏิเสธว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตในกรุงเทพของผม เคยเจ็บแค้นแทนเมื่อเทศกิจเที่ยวไล่ยึดหรือหยิบของจากแผงไปเฉยๆถึงขนาดไปยืนด่าจนเกือบจะโดนตึ๊บมาแล้ว ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างของเหล่าพ่อค้าแม่ขาย จากชาวบ้านๆเริ่มมีบางส่วนที่เป็นคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ จากหาบด้วยไม้คานเริ่มกลายเป็นรถเข็นจนปัจจุบันรถเก๋งรถกะบะ แผงที่เคยเรียบง่ายเริ่มกลายเป็นระบบน็อคดาวน์ที่แข็งแรงและใหญ่ขึ้นจนแทบจะเดินสวนไม่ได้ จากแม่ค้าที่เคยเต็มไปด้วยอัธยาศัยเริ่มมีบ้างที่แสดงความเป็นเจ้าที่เจ้าทาง ขนาดบางครั้งถูกด่ากระทบตามหลังเมื่อเราเดินเฉียดสินค้าที่วางแบกับพื้นด้วยต้องหลบคนที่เดินเบียดสวนมา บางคราที่เร่งรีบจากที่ต้องหลบไปเดินบนถนนเลนซ้ายสุดก็ต้องเริ่มไปเดินชิดเลนสองเพราะมีรถเจ้าของแผงจอดเรียงรายอยู่ หลายสิบปีที่พบเห็นมา ผมว่าคนเดินเท้าในกรุงเทพอะลุ่มอะล่วยและเอื้ออาทรกับพ่อค้าแม่ขายมาตลอด แต่ในทางกลับกันเล่า อย่าให้คนเดินถนนสุดทนจนต้องลุกขึ้นมาถามบ้างว่า “ตกลงทางเท้าเป็นของใคร”
"
โดย พิณไร้สาย
พฤศจิกายน 2553

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=655315

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น