30 ปีโศกนาฏกรรม'โภปาล'
ก๊าซที่รั่วไหลเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2527 จากบริษัทยูเนียน คาร์ไบด์
ซึ่งเป็นโรงงานของสหรัฐ
ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติสารเคมีที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
เพราะอุบัติเหตุการรั่วไหลของก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์จำนวนกว่า 40 ตัน ได้คร่าชีวิตชาวบ้านไปหลายพันคนในเมืองโภปาล ซึ่งอยู่ตอนกลางของอินเดีย อีกทั้งยังมีผู้คนอีกหลายล้านคนที่ได้รับผลกระทบ
ดังนั้นจึงขอนำบทความและข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีมาฝากกันครับ
.....................
จากช่วงหนึ่งของการประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชประจำปี
2555 ของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ได้กล่าวถึงแนวโน้มสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น
ตัวเลขของผู้ได้รับผลกระทบและมูลค่าความสูญเสียสูงมากจนน่าตกใจ
เมื่อมองแบบไม่เฉพาะเพียงแต่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในอาหาร
ก็เห็นว่าทั่วโลกต่างก็ได้รับบทเรียนความสูญเสียจากสารเคมีซึ่งส่วนใหญ่เกิด
จากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
จึงขอนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกี่ยวกับผลกระทบสารเคมีทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
นอกเหนือไปจากการรายงานข้อมูลเชิงลึกของศูนย์ข่าว TCIJ
เมื่อค้นหาเหตุการณ์ที่มีผู้ได้รับผลกระทบจากเว็บไซต์ชื่อดัง
ก็ได้เจอกับบทความของคุณเกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์
บรรณาธิการมูลนิธิโลกสีเขียว เขียนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2555 เรื่อง
"เอเย่นต์ ออเร้นจ์ที่บ่อฝ้าย มรดกพิษจากสหรัฐฯ"
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2542
ในระหว่างการปรับพื้นที่เพื่อขยายทางรันเวย์ของสนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จู่ๆ
รถแบ็กโฮก็ขุดกระทบถังบรรจุสารเคมีที่ฝังอยู่ใต้ดินลึก 1.5 เมตร
จนเกิดการรั่วไหล ส่งกลิ่นฉุนคลุ้งกระจาย จนคนงานไม่สามารถทำงานต่อไปได้
และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเกิดความแตกตื่น
เมื่อมีข่าวแพร่สะพัดว่า สารเคมีที่อยู่ในถังนั้นคือเอเย่นต์ ออเร้นจ์
(Agent Orange)
เอเย่นต์ ออเร้นจ์
เป็นสารพิษระดับตำนานที่ทหารอเมริกันใช้ในการศึกสมัยสมรภูมิรบที่สงคราม
เวียดนามในช่วงปี 2504 – 2518 โดยใช้เครื่องบินฉีดพ่นป่ารกทึบให้ใบไม้ร่วง
เพื่อทหารเวียดกงจะได้ปราศจากที่หลบซ่อน
ฝนเหลืองไม่เพียงแต่ทำลายสภาพป่าในตอนนั้น
ซึ่งธนาคารโลกเคยประเมินว่ากินบริเวณกว้างประมาณ 625,000 ไร่ ถึง
12,500,000 ไร่ แต่ยังส่งผลกระทบสุขภาพต่อคนเวียดนามใต้ตราบจนปัจจุบัน
โดยเฉพาะประชาชนที่เคยสัมผัสและบรรดาทหารผ่านศึก เนื่องจากเอเย่นต์
ออเร้นจ์มีส่วนประกอบของสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และทำลายระบบประสาทส่วนกลาง
อีกทั้งสารเคมีชนิดนี้ยังเป็นสารที่ย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติ
ทำให้สามารถสะสมในห่วงโซ่อาหารเมื่อเกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
จากนั้นก็ขุดพบภาชนะเหล็กสภาพผุกร่อนขนาด 200 ลิตร
ภายในว่างเปล่า 1 ถัง และถังบรรจุสารเคมีขนาด 15 ลิตร 5 ถัง
มีข้อความและหมายเลขกำกับว่า “Delaware Barrel PAT NO 2842282, Tri-sure,
American lange, NY” ซึ่งคำว่า Delaware (เดลาแวร์) นั้น
เป็นชื่อเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ในตอนแรกหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ไม่ว่าจะเป็นกรมควบคุมมลพิษ กรมวิชาการเกษตร
กรมการบินพาณิชย์ในฐานะเจ้าของพื้นที่
ต่างพากันออกมาปฏิเสธว่าไม่ใช่เอเย่นต์ ออเร้นจ์ และตรวจไม่พบสารไดออกซิน
อย่างไรก็ตาม
ชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นสนามบินของทหารอากาศ
รวมทั้งอดีตเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฝึกการบินเอง กลับยืนยันว่า
สารที่พบโดยบังเอิญนี้
เป็นสารเคมีที่ทหารอเมริกันใช้ในการทำสงครามอย่างแน่นอน
พร้อมกับทยอยนำข้อมูลและภาพถ่ายการทดลองใช้เมื่อปี 2506 มาแสดงแก่สื่อมวลชน
ท่ามกลางความเคลือบแคลงของสังคม
บวกกับแรงกดดันขององค์กรพัฒนาเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ
ตลอดจนสื่อมวลชนที่ขุดคุ้ยอย่างต่อเนื่อง
ในที่สุดโฆษกสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ออกมายอมรับกับสำนักข่าว
เอพีว่า กองทัพสหรัฐฯ
เคยเข้ามาปฏิบัติการทดลองในประเทศไทยที่บริเวณค่ายทหารธนรัชต์
อำเภอปราณบุรี ในช่วงปี 2507 – 2508 ภายใต้ชื่อ
โครงการปฏิบัติการทดลองใบไม้ร่วงในประเทศไทย (Thailand Defoliation
Program) นอกจากนี้ ในเอกสารที่สถานทูตสหรัฐฯ ส่งให้ประเทศไทยในเวลาต่อมา
ยังระบุด้วยว่า นอกจากเอเย่นต์ ออเร้นจ์แล้ว ยังมีการทดลองสารเคมีตัวอื่นๆ
ด้วย เพื่อเปรียบเทียบกับสารสีส้ม เช่น สารสีม่วง สารสีชมพู เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ยังคงปฏิเสธว่าสารเคมีที่ขุดพบใช่เอเย่นต์ ออเร้นจ์
คุณเกื้อเมธาบอกว่า ภายหลังการออกมาเปิดเผยของทางสหรัฐฯ
กรมควบคุมมลพิษได้ยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือในการตรวจหาสารไดออก
ซิน พร้อมกันนั้นได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดินมาตรวจสอบอีกครั้ง
โดยส่วนหนึ่งส่งไปตรวจสอบที่ห้องปฏิบัติการเอกชนของสหรัฐฯ และแคนาดา
ผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการในต่างประเทศปรากฏชัดเจนว่า
พบสารไดออกซินในตัวอย่างทั้งหมด โดยมี 1
ตัวอย่างที่ผลการตรวจมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานสากลถึง 50 เท่า
ซึ่งมีค่าสูงถึง 2,002 พีพีที (ส่วนในพันส่วน)
ถึงแม้ความจริงจะปรากฏ แต่เรื่องราวหาได้จบลงง่ายๆ
เพราะเมื่อกรมควบคุมมลพิษออกแบบหลุมฝังกลบเสร็จเรียบร้อย
แต่ไม่ว่าพื้นที่ใดที่ถูกเลือกให้เป็นที่ฝังกากสารพิษ
ก็ได้รับการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ทุกแห่ง
แม้กระทั่งในบริเวณสนามบินบ่อฝ้ายเองก็ตาม
ก็ได้รับการคัดค้านจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด
จนในที่สุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในสมัยนั้น
ต้องสั่งเดินหน้าการฝังกลบในพื้นที่ของสนามบินเอง
หากทว่ากรมควบคุมมลพิษก็ไม่สามารถดำเนินการได้
เนื่องจากในระหว่างนั้นกรมการบินพาณิชย์ได้ลักลอบนำดินปนเปื้อนไปทิ้งใน
ที่ดินเอกชนโดยไม่ได้บอกกล่าวใครเสียก่อนแล้ว
ต่อเมื่อเจ้าของที่ดินทราบเรื่องจึงไม่ยอมให้มีการขนดินกลับออกไป
จนกว่าจะชดใช้ค่าเสียหาย 8 ล้านบาท
สุดท้ายหน่วยงานรัฐต้องแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าของที่ดินในข้อหาครอบครอง
วัตถุอันตราย และใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
สั่งการให้เจ้าของที่ดินยินยอมนำดินปนเปื้อนออกมากำจัดด้วยการฝังกลบกากสาร
พิษในบริเวณของสนามบินบ่อฝ้าย โดยเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษชี้แจงว่า
จะมีการเก็บตัวอย่างดินบริเวณใกล้เคียงมาตรวจสอบปีละ 2 ครั้ง
เป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี แล้วถ้าหากมีการรั่วซึม
ก็จะแก้ปัญหาด้วยการรื้อขึ้นมาฝังกลบใหม่
เมื่อค้นหาต่อไปก็พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับสารเคมีอีกมากมาย จัดได้ว่าเป็นบทเรียนแก่คนไทยและชาวโลก ซึ่งขอนำเสนอในบางเหตุการณ์ เช่น
3 ธันวาคม 2527 แก๊สพิษรั่วจากโรงงานผลิตยาฆ่าแมลงที่อินเดีย
โรงงานนี้เป็นของยูเนี่ยน คาร์ไบด์
ซึ่งปัจจุบันรวมกิจการกับบริษัทดาว เคมิคัลแล้ว
ตั้งอยู่ในเมืองโภปาลทางตอนกลางของอินเดีย
หายนะภัยที่เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืนเดียวคร่าชีวิตชาวเมืองนับถึงปัจจุบันได้
มากกว่า 20,000 คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทุกเพศ ทุกวัยและอีกมากกว่า 150,000
คน เจ็บป่วยเรื้อรัง ผู้รอดชีวิต และเด็กๆ เป็นโรคร้ายอย่างมะเร็ง
และวัณโรค เด็กเกิดใหม่พิการ หรือแม้แต่เป็นไข้เรื้อรัง ชาวเมืองอีกมากกว่า
20,000
คนยังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการผจญกับสารพิษตกค้างซึ่งถูกละเลยมานับตั้งแต่
เกิดโศกนาฏกรรมเมื่อ 20 ปีก่อน
จากหลักฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของกรีนพีซ ในปี 2542, 2545 และ 2547
พบว่า สารเคมีเป็นพิษเหล่านั้นได้แก่ carbon tetrachloride
และสารพิษตกค้างยาวนาน และโลหะหนัก เช่น ปรอท
ปัจจุบัน
โภปาลยังเกี่ยวพันกับการดำเนินคดีที่ไม่สิ้นสุด
แม้ว่าในส่วนของคดีแพ่งเกี่ยวกับการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้เคราะห์ร้ายจะ
จบลงไปหลายปีแล้ว
แต่ศาลของอินเดียยังไม่ได้ตัดสินชี้ขาดคดีปัญหาที่เกี่ยวกับโศกนาฏกรรมโภปาล
อีกหลายเรื่อง
และการต่อสู้ทางกฎหมายที่ยืดเยื้อนี้ก็กำลังส่อเค้าว่าจะสร้างปัญหาหนักอก
ให้กับบริษัทดาว เคมิคอล
ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโภปาลมาตั้งแต่แรกทั้งนี้บริษัทดาวเข้าซื้อ
กิจการที่เหลืออยู่ของยูเนี่ยน คาร์ไบด์ เมื่อพ.ศ. 2545
แม้ว่ายูเนี่ยน
คาร์ไบด์จะขายทิ้งหน่วยงานที่บริหารโรงงานโภปาลไปกว่าสิบปีก่อนที่ดาวจะเข้า
ซื้อกิจการแล้วก็ตาม
ชาวอินเดียจำนวนมากก็ยังปักใจเชื่อว่าในตอนนี้ดาวควรเป็นผู้รับผิดชอบเหตุ
ร้ายในครั้งนั้น ถึงแม้ว่าดาวไม่เคยต้องจ่ายค่าเสียหายใดๆ
แต่โภปาลกลับสร้างความเสื่อมเสียให้กับภาพลักษณ์ขององค์กร
ทำให้การดำเนินงานของบริษัทถูกเพ่งเล็งมากขึ้น
คนบางส่วนทั้งในอินเดียและต่างประเทศก็เชื่อว่าในท้ายที่สุดแล้วดาวอาจจะ
ต้องช่วยกำจัดสารเคมีในพื้นที่ซึ่งสารพิษได้รั่วไหลลงสู่น้ำใต้ดินที่ชาว
บ้านกว่า 25,000 ชีวิตใช้ในกิจวัตรประจำวัน
ในพ.ศ.2532
ยูเนี่ยน คาร์ไบด์ ตกลงยินยอมจ่ายเงินมูลค่า 470
ล้านเหรียญให้กับเหยื่อผู้เสียหาย โดยแบ่งเป็น 1,500
เหรียญต่อผู้เสียชีวิตหนึ่งรายและ 550 เหรียญสำหรับผู้ที่ได้รับสารพิษ
แต่ในส่วนของการดำเนินคดีอาญากับยูเนี่ยน
คาร์ไบด์ยังไม่มีทีท่าจะคลี่คลายลงได้ง่ายๆ
บริษัทถูกฟ้องร้องในข้อหาฆ่าคนตายโดยประมาท
แต่ไม่มีผู้รับผิดชอบจากสำนักงานใหญ่ของยูเนี่ยน
คาร์ไบด์ไปปรากฏตัวที่ศาลเลยสักคน ดังนั้น
ผู้พิพากษาจึงประกาศให้บริษัทและประธานบริหารบริษัทเป็นผู้ต้องหาหลบหนี
กฎหมาย กลุ่มผู้เสียหายและนักกฎหมายบางรายแย้งว่าถ้าเป็นเช่นนั้นบริษัท
ดาวก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาให้ที่หลบภัยกับยูเนี่ยน
คาร์ไบด์ที่ขณะนี้ถือว่าเป็นผู้ต้องหาหลบหนีคดี
2 มีนาคม 2534 คลังเก็บสินค้าท่าเรือคลองเตยระเบิด
ที่มาของเหตุการณ์ดังกล่าวคือการปะทุของสารเคมีในคลังเก็บสินค้าอันตรายหมาย
เลย 3 ของท่าเรือคลองเตย
โดยพนักงานที่อยู่ประจำโกดังซึ่งเก็บสารเคมีหลากชนิดไว้รวมกันให้การว่า
ต้นเพลิงเริ่มมาจากฟอสฟอรัสประมาณพันถุง ซึ่งวางซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ
และในชั่วพริบตามันก็ลามไปถึงจุดเก็บถังแก๊สอันเป็นที่มาของเสียงระเบิด
ก่อนที่เปลวไฟจะเคลื่อนตัวเข้าหาโกดังอื่นโดยรอบ
รวมถึงชุมชนเกาะลาวบริเวณใกล้เคียงซึ่งมีผู้อยู่อาศัยกว่าร้อยหลังคาเรือน
ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 วันกว่าที่สารเคมีจะเผาไหม้หมด
และอีกหลายวันกว่าที่กลิ่นของสารที่ไหม้ไฟจะจางหาย
แรงระเบิดและเปลวไฟทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 4 คน ทั้งบาดเจ็บอีกนับร้อย
สารเคมีอันตรายหลากชนิดแฝงตัวเข้าไปในร่างกายของประชาชนในบริเวณโดยรอบ
ชุมชนเกาะลาววอดวายจนสิ้นชื่อ ผู้คนกว่า 5,000 ชีวิตกลายเป็นคนไร้บ้าน
พวกเขาหลายคนอาจรอดตายจากเหตุการณ์
แต่สารพิษตกค้างก็ทำให้ต้องล้มป่วยลงในเวลาต่อมา
ทั้งมีอีกเป็นจำนวนมากที่เสียชีวิตเพิ่มเติม
โดยที่แพทย์ไม่อาจรับรองหรือวินิจฉัยได้โดยตรงถึงที่มาของอาการเหล่านั้น
เพราะการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่สามารถระบุ
ข้อมูลชนิดของสารเคมีในโกดังโดยละเอียดได้ ปัญหาที่ตามมาก็คือ
เงินชดเชยที่ชาวบ้านควรจะได้จากการท่าเรือฯ กลับติดในเงื่อนไขและข้ออ้างว่า
ความป่วยไข้ดังกล่าวอาจเป็นไปโดยธรรมชาติ
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสารที่ถูกเผาไหม้
ทั้งยังมีการรายงานผ่านสื่อถึงภาพรวมว่า สุขภาพของชาวคลองเตยไร้ปัญหา
“ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง”
แม้จะไม่สามารถระบุได้ว่าสารเคมีจำนวนมากในโกดังเป็นชนิดใด นำเข้ามาจากไหน
คนรับเป็นใคร หรือกระทั่งมีเจ้าของหรือไม่
ที่สุดแล้วกากของมันก็ถูกขนไปกับขบวนรถบรรทุกมุ่งหน้าสู่กาญจนบุรี
โดยผู้เกี่ยวข้องชี้แจงว่าจะนำไปฝังในเขตทหาร
ด้วยวิธีสร้างกำแพงคอนกรีตล้อมรอบสี่ด้านและปิดทับด้านบนอีกชั้น
เพื่อป้องกันสารเคมีรั่วไหล สร้างความมั่นใจว่าจะไม่เป็นอันตรายกับชาวบ้าน
อย่างไรก็ตาม
ชาวกาญจนบุรีต่างไม่เชื่อในน้ำคำของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
(รสช.) ซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศในขณะนั้น
จึงดำเนินการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบสารพิษโดยรอบหลุมฝัง
ซึ่งก็พบว่าเกินค่ามาตรฐาน จนนำมาซึ่งการขุดซากเคมีเหล่านั้นขึ้นมาใหม่
เพื่อฝังกลบด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์
ซึ่งหวังว่าจะมีปริมาณการรั่วไหลของสารเคมีต่ำในอัตราที่ยอมรับได้
ในขณะที่ผู้คนในย่านคลองเตยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น
ต้องรวมตัวกันเรียกร้องเป็นเวลายาวนานถึงสิบกว่าปี
กระทั่งมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
กรณีปัญหาผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมกรณีสารเคมีคลองเตยขึ้นมาเมื่อปี
2545 เพื่อทำงานประสานกันระหว่างภาครัฐกับชุมชนในการชดเชยความเสียหาย
โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ค่าชดเชยที่จ่ายให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง จำนวน 140 คน คนละ
10,000 บาทต่อปี เป็นเวลา 10 ปี,
กองทุนฟื้นฟูอาชีพและสวัสดิการแก่ผู้ได้รับผลกระทบ
และการจัดสร้างศูนย์อาชีวะเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมคลองเตย
เพื่อติดตามปัญหาการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานในผู้ป่วยที่ขาดโอกาสรักษา
พยาบาลอย่างถูกต้อง โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้
มีเพียงการชดเชยในส่วนแรกเท่านั้นที่ดำเนินการอย่างสมบูรณ์
5 พฤษภาคม 2555 ถังเก็บสารเคมีระเบิดที่มาบตาพุด
เหตุระเบิดที่โรงงานบริษัทกรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด (BST:
บีเอสที) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเอสซีจีกรุ๊ป
โดยแจ้งว่าถังเก็บสารโทลูอีนระเบิดตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2555
หลังเกิดเหตุ 40 นาที จึงมีเอสเอ็มเอสแจ้งประชาชน
และข้อมูลที่เข้ามาในมือถือบอกแค่ว่ามีการระเบิด
แต่ไม่มีข้อมูลเรื่องสารพิษหรืออะไรเลย มีผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 142
ราย
ทั้งนี้ BST
เคยเกิดสารเคมีรั่วที่ท่าเรือจากการขนถ่ายสารเคมีมาส่งที่โรงงานในปี 2552
ขณะที่บริษัทอดิตยาฯ เคยเกิดสารคลอรีนรั่วมาแล้วในปี 2553
ซึ่งในครั้งนั้นทางศูนย์ประสานงานพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้น
สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
ได้สรุปเหตุการณ์อุบัติภัยสารเคมีรั่วไหลของบริษัทอดิตยาฯ
จากการลงพื้นที่ตรวจสอบเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2553
ทั้งนี้ได้มีข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงระบบรองรับอุบัติภัยสารเคมีที่มาบตาพุด
และพื้นที่ใกล้เคียง
การใช้สารเคมีสังหารในสงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2)
เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก
เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ.
2488 (ค.ศ. 1945)
อย่างที่ทราบกันว่าบุคคลที่มีบทบาทเป็นผู้นำทรงอำนาจของพรรคนาซีเยอรมัน คือ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้สร้างค่ายกักกันชาวยิวและสังหารชาวยิวด้วยการรมแก๊สพิษ
เนื่องจากการสังหารแบบเดิมทีความล่าช้า
โดยชาวยิวจะถูกต้อนให้เข้าไปอัดรวมกันอยู่ในห้องแคบๆ
ก่อนจะถูกรมด้วยควันพิษจนตาย
มีการนำแก๊สพิษหลากหลายชนิดมาใช้ในการสังหารครั้งนี้
เริ่มแรกนั้นมีการใช้ไซคลอนบี(เป็นสารไซยาไนต์แบบระเหยได้)
จากนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นซารินที่ร้ายแรงกว่ามาก
ซึ่งการสังหารจะใช้เวลาเพียงแค่ประมาณ 20 นาทีเท่านั้น Joann Kremer
นายแพทย์ที่ทำงานอยู่ในค่ายกล่าวว่า
เขาได้ยินเสียงตะโกนและกรีดร้องด้วยความทรมานดังออกมาจากข้างในห้องอย่าง
ชัดเจน ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่าพวกเขาแต่ละคนพยายามดิ้นรนสุดชีวิต
เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอดต่อไป
และเมื่อแน่ใจว่าทุกคนตายหมดแล้วศพจะถูกขนออกมาและถูกงัดฟันทองออกจากปาก
ก่อนจะถูกนำไปกลบฝัง มีการทำความสะอาดห้องและทาสีใหม่
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับชาวยิวกลุ่มต่อไปอยู่ตลอดเวลา
ฝนเหลือง ในสงครามเวียดนาม
สหรัฐอเมริกาใช้ฝนเหลืองเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 42 ล้านลิตร
ภายใต้แผนปฏิบัติการ "Operation Ranch Hand" ในสงครามเวียดนาม พ.ศ.
2504-2518 ผลกระทบจากไดออกซินหลังสงครามต่อระบบนิเวศ
สภาพแวดล้อมและสุขภาพของคนยังปรากฎชัดเจนกระทั่งทุกวันนี้
แม้เหตุการณ์จะผ่านไปแล้ว 20 ปีเศษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดกับสุขภาพมนุษย์ยังคงมีให้เห็นในรุ่นลูก
รุ่นหลานของชาวเวียดนามที่ได้รับหรือสัมผัสฝนเหลืองในช่วงสงคราม
ธนาคารโลกเคยจัดทำรายงานเกี่ยวกับกรณีเวียดนามและได้ประมาณขอบเขตพื้นที่และ
ป่า ที่ได้รับความเสียหายจากฝนเหลืองว่า มีประมาณกว้างประมาณ 625,000 ไร่
ถึง 12,500,000 ไร่ โดยรายงานของธนาคารโลกระบุชัดเจนว่า
การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้
ความย่อยยับของความหลากหลายทางชีวภาพและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่
เกษตรกรรมเป็นผลมาจากปฏิบัติการฝนเหลืองของสหรัฐฯ
และด้วยเหตุที่เป็นสารเคมีที่ไม่ย่อยสลายหรือย่อยสลายยากในธรรมชาติ
เมื่อปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้วจะสามารถเข้าไปสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร
ได้
และนี่เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้คนเวียดนามใต้ที่รับประทานอาหารที่มี
สารปนเปื้อนอยู่ มีสารพิษตัวนี้สะสมอยู่ในร่างกาย
และจากการทดลองจากตัวอย่างอาหารและสัตว์ป่าจากตลาดต่าง ๆ
ทางภาคใต้ของเวียดนามระหว่างปี 2528-2530
ได้ผลยืนยันว่ามีสารเคมีสะสมในปริมาณสูง
นักวิทยาศาสตร์ทั้งชาวเวียดนามและชาวต่างชาติเคยทำการศึกษาทางระบาดวิทยา
หลายครั้งด้วยกันเพื่อพิสูจน์ว่า
การสัมผัสฝนเหลืองมีความเชื่อมโยงสำคัญกับโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคน เช่น
ทำให้เป็นโรคมะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด เช่น soft tissue
sarcoma และ chonocarcinoma
โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ได้รับฝนเหลืองในช่วง
สงคราม รวมทั้งทหารผ่านศึกจากเวียดนามเหนือที่ได้รับสารตัวนี้เข้าไป
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า
ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับฝนเหลืองหรือในครอบครัวของทหารผ่านศึกมี
อัตราความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ทำให้แท้งลูก
ทารกตายในท้อง ทารกพิการแต่กำเนิด เป็นต้น สูงกว่าประชาชนในพื้นที่อื่น
จนเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2555
สำนักข่าวเอพีรายงานจากเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ว่า
ทีมผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐเริ่มทำการชะล้างสารอันตราย ไดออกซิน หรือ ฝนเหลือง
ในเวียดนามอย่างเป็นทางการแล้ว ตามโครงการมูลค่า 43 ล้านดอลลาร์
ที่จะขจัดสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชาวเวียดนามราว 3-4 ล้านคน
รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือแก่ชาวเวียดนาม ที่ได้รับผลกระทบจากฝนเหลือง
ทั้งทางตรงและทางอ้อม
http://www.tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=1613
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
-
องค์การไม่แสวงหาผลกำไร (อังกฤษ: nonprofit organisation หรือย่อว่า NPO) เป็นชื่อเรียกองค์การที่มีจุดมุ่งหมายสนับสนุนกลุ่มที่มีความคิดเห็...
-
ทุกวันนี้ผมยังคงคิดว่าฟุตบาทมันเป็นของส่วนบุคคล โดยมีเจ้าหน้าที่เทศกิจคอยดูแลเก็บค่าที่อยู่ ซึ่งเราจะไประเมิดความเป็นส่วนบุคคลเขาไม่...
-
30 ปีโศกนาฏกรรม'โภปาล' ก๊าซที่รั่วไหลเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2527 จากบริษัทยูเนียน คาร์ไบด์ ซึ่งเป็นโรงงานของสหรัฐ ส่งผลให้เกิดภัย...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น