วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สมควรจะได้มีการยื่นฟ้องเพื่อให้มีการยุบพรรคเพื่อไทยต่อไป



     หลังจากที่ ป.ป.ช. ได้มีมติ 7 ต่อ 0 ชี้มูลถอดถอน นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โทษฐานละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นการนโยบายของพรรคเพื่อไทยในแถลงต่อรัฐสภา หรือที่ประชาชนตัดสินใจเลือก สส.พรรคเพื่อไทยเข้ามาดำเนินตามนโยบายจำนำข้าวทุกเมล็ด (ตามคำโฆษณาหาเสียงเรื่อง นโยบายจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ด เกวียนละ 15,000 บาท เมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2554)
     “...ที่เป็นปัญหาทุกวันนี้ คือระบบประกันเป็นระบบที่ไม่ถึงมือชาวบ้าน พรรคเพื่อไทยจึงนำวิธีรับจำนำมาใช้ คือ ผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ก็ได้ราคาขั้นต่ำเท่าของรัฐบาล ข้าวเปลือกเกวียนละ 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท นี่คือราคาจำนำของพรรคเพื่อไทย อันเนื่องมาจากต้นทุนข้าวราคามักสูงขึ้นทุกวัน” 
     นส.ยิ่งลักษณ์ยังเคยกล่าวหาเสียงต่อประชาชนจำนวนมากที่มาต้อนรับ อีกว่า "ที่เป็นปัญหาทุกวันนี้ คือระบบประกันเป็นระบบที่ไม่ถึงมือชาวบ้าน พรรคเพื่อไทยจึงนำวิธีรับจำนำมาใช้ คือ ผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ก็ได้ราคาขั้นต่ำเท่าของรัฐบาล ข้าวเปลือกเกวียนละ 15,000 บาท ส่วนข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท นี่คือราคาจำนำของพรรคเพื่อไทย"
      แต่สุดท้ายโครงการจำนำข้าวก็ไม่ต่างไปจากนโยบายอื่นๆ ของพรรคเพื่อไทยที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า เช่น
โครงการทำเขื่อนแล้วถมทะเลลงไป ไเพื่อด้พื้นที่ใหม่ประมาณ 300 ตารางกม. หรือประมาณเกือบ 2 แสนไร่ ที่จะสร้างเมืองใหม่ !!
      โครงการพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ และการผันน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน  โครงการรถไฟฟ้า 10 สายเก็นค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โครงการพักหนี้ครัวเรือน 5 ปี โครงการกองทุนตั้งตัวได้ โครงการคืนภาษีผู้ซื้อรถยนต์คันแรก/บ้านหลังแรก โครงการปรับภาษีพลังงานน้ำมัน โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ฯลฯ
      หลายๆ โครงการไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนที่จะลงโฆษณาหาเสียง ก็เท่ากับว่าเป็นนโยบายที่โกหกหลอกลวงประชาชน เช่นเดียวกับโครงการจำนำข้าวที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างระมัดระวัง ปล่อยให้มีการขาดทุนอย่างมโหฬาร สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างที่ประเมินค่าไม่ได้

     นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันนี้ (8 พฤษภาคม) ว่า  "....จึงมีมติ 7 ต่อ 0 เสียงว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาเป็นการส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อ บทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 178 และส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 11 (1) อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาออกจากตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 270…”

นส.ยิ่งลักษณ์ได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาในโครงการจำนำข้าว ซึ่ง นส.ยิ่งลักษณ์อ้างว่า โครงการจำนำข้าวเกี่ยวข้องกับนโยบายที่พรรคใช้หาเสียง
“เป็นนโยบายเร่งด่วนที่แถลงต่อรัฐสภาและมีผลผูกพัน” 
“นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน กขช.มีอำนาจหน้าที่สั่งยกเลิกโครงการจำนำข้าว”
นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ ก็ยังเป็นพยานขึ้นแก้ต่างให้แก่ นส.ยิ่งลักษณ์ว่า  โดยยืนยังว่า “สาเหตุที่นายกรัฐมนตรี นส.ยิ่งลักษณ์ไม่สามารถระงับยังยั้งหรือยกเลิกโครงการได้ เพราะเป็นนโยบายที่เคยหาเสียงและแถลงต่อรัฐสภาไว้”
     นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ก็ได้เป็นพยานแก้ต่างอีกคนหนึ่งโดยปักใจเชื่อว่า โครงการช่วยเหลือชาวนาด้วยการแทรกแซงราคาข้าวนั้น  มีมาตั้งแต่สมัยนายชวน หลีกภัย เมื่อปี 2536 ไม่น่าจะมีการทุจริต”
เช่นเดียวกันนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ไปแก้ต่างแทน นส.ยิ่งลักษณ์ต่อ ปปช.ว่า “นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องทำตามนโยบายหาเสียง(และแถลงต่อรัฐสภา) และโครงการนี้เป็นการบริหารอุปทาน”  (อ้างอิง สกู๊ปข่าว คมชัดลึก 3 พ.ค.57)
     ซึ่งหมายความว่า เมื่อตลาดข้าวโลกมีราคาลดต่ำลง รัฐบาลซึ่งมีข้าวอยู่ในโครงการจำนำข้าวย่อมต้องระบายข้าวในราคาที่ตำกว่า 15,000 บาทต่อตันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผลของการดำเนินตามโครงการจำนำข้าวกลับทำให้มีการบิดเบือนกลไกตลาดข้าว  แล้วยังทำให้โครงการจำนำข้าวประสบกับภาวะขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทอีกด้วย แม้นายยรรยง พวงราชจะแก้ต่างในการสอบสวนของ ปปช.ว่าข้อมูลจากคณะกรรมการปิดบัญชีและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ยังไม่ได้ข้อยุติว่าขาดทุนก็ตาม
แต่ข้อเท็จจริง คือประสบภาวะขาดทุนอย่างแน่นอน เพียงแต่ยังสงสัยในวิธีการคำนวนตัวเลขทางบัญชีเท่านั้นเอง
นายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า  “รัฐบาลยังมีการปกปิดตัวเลขผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว เพราะกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ต่างก็มีตัวเลขผลการดำเนินงานที่ไม่ตรงกัน และก็เชื่อว่ามีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น”
รัฐมนตรีที่ไปแก้ต่างต่อ ปปช.ล้วนไม่มีใครกล้าพูดถึงผลกระทบในระดับจุลภาค หรือภาคประชาชน เช่น
การที่มีชาวนาได้ ผูกคอตายไปแล้วกว่าสิบคน หรือแทบจะไม่มีรัฐมนตรีคนไหนที่กล้าแก้ต่างถึงสาเหตุที่ชาวนาได้รับเงินค่าประทวนล่าช้า หรือยังไม่ได้รับเงินจากโครงการจำนำข้าวอีกหลายหมื่นราย

     ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงเป็นมูลที่ฟ้องต่อไปได้ว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทย นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รัฐมนตรีที่ดูแลโครงการจำนำข้าวทำงานโดยขาดความรับผิดชอบ ไม่มีคุณสมบัติเหมาะสม สร้างผลเสียหายอย่างร้ายแรงจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชาวนา
จึงถือว่าขัดต่อมาตรา 94 (4) กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร หรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ระบุว่า “มาตรา 94 และปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรค การเมืองผู้ใดมีส่วนร่วม รู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำดังกล่าวแล้วมิได้ยับยั้ง หรือแก้ไขการกระทำดังกล่าว ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและ กรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง”

     เมื่อ ปปช.ได้ชี้มูลความผิดของน ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว ก็จะได้มีการส่งเรื่องต่อวุฒิสภาเพื่อยื่นเรื่องถอนถอนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลาห้าปี และยังต้องไต่สวนเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อไปอีกด้วย
แต่เมื่อทุกฝ่ายยืนยันว่า โครงการจำนำข้าว เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้ใช้หาเสียงและแถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว จึงไม่สามารถเลิกโครงการได้แม้จะถูกทักท้วงให้ยกเลิกโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วก็ตาม

     เรื่องนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่า สมควรจะได้มีการยื่นฟ้องเพื่อให้มีการยุบพรรคเพื่อไทยต่อไปอีกคำรบหนึ่ง  ตามเหตุผลที่ยกมาอ้างทั้งหมดนั้นแล้ว

     และใครจะเป็นผู้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ...และใครเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
ถ้าไม่ใช่ “คนไทยทุกคน” ที่จะต้องฟ้องร้องเอาผิดกับรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
เพื่อ... ยุบพรรคเพื่อไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น