วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประชาธิปไตยมาก่อน..รัฐธรรมนูญมาทีหลัง


ความคิดเห็นที่หน้าสนใจของ คุณราเมศ สรพล
.................................................................
การแก้ปัญหาชาติคือ..."สร้างประชาธิปไตยลงในการปกครองประเทศ...เมื่อสร้างเสร็จด้วยการใช้นโยบายเป็นเครื่องมือแล้ว...จึงร่างรัฐธรรมนูญสะท้อนประชาธิปไตยที่สร้างเสร็จแล้วนั้นเพื่อรักษาประชาธิปไตยนั้นไว้ในรัฐธรรมนูญต่อไปตามกฎเกณฑ์...คือสร้างประชาธิปไตยนโยบาย...แล้วจึงใช้รัฐธรรมนูญมารักษาประชาธิปไตยไว้ต่อไป....แต่...
....ประเทศไทยทำผิดมาตลอด 82 ปี ตั้งแต่คณะราษฎรทำรัฐประหารยึดอำนาจ ร.7 คือ...
..."เอารัฐธรรมนูญมาเป็นเครื่องมือในการสร้างประชาธิปไตย"...กล่าวคือ..."อยากได้ประชาธิปไตยอย่างไรก็เขียนลงไปในรัฐธรรมนูญ..แล้วประกาศใช้...ก็คิดว่าจะได้ประชาธิปไตย"...ก็จะได้แต่.."ประชาธิปไตยในแผ่นกระดาษ"...แต่ในแผ่นดินกลับมีแต่ระบอบเผด็จการรัฐสภา(เผด็จการพลเรือน)..และ/หรือระบอบเผด็จการรัฐประหาร(เผด็จการทหาร) เมื่อมีแต่ประชาธิปไตยในแผ่นกระดาษ(รัฐธรรมนูญ)...แต่ในแผ่นดินมีการระบอบเผด็จการ...จึงเกิดการต่อสู้ขัดแย้งกันระหว่าง.."ประชาธิปไตยในแผ่นกระดาษ...กับ...เผด็จการในแผ่นดิน"...ในที่สุดแผ่นกระดาษพ่ายแพ้ต่อแผ่นดิน(ประชาธิปไตยพ่ายแพ้ต่อเผด็จการ)...ก็เปิดปรากฏการณ์..."ฉีกรัฐธรรมนูญ"...ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แล้วจึงร่างกันใหม่อีกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จึงทำให้ประเทศไทย.."ร่ำรวยรัฐธรรมนูญที่สุดในโลกถึง ๑๙ ฉบับ และกำลังจะให้สภาปฏิรูปแห่งชาติร่างฉบับที่ ๒๐ ขึ้นอีกในอีกไม่กี่เดือนนี้....แต่กลับยากจนประชาธิปไตยที่สุดโลกไม่มีสักระบอบ..มีแต่ระบอบเผด็จการ ทั้งระบอบเผด็จการรัฐสภา และระบอบเผด็จการทหาร สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนนับเป็น ๒๐ ถึง ๓๐ ระบอบ(เผด็จการ)"

การใช้เครื่องมือผิดประเภท...ย่อมทำให้สร้างอะไรไม่ได้ หรือแก้ไขอะไรไม่สำเร็จ...นั้นคือ...
- ประชาธิปไตย..เขาสร้างด้วย.."นโยบาย"(Policy)
- ประชาธิปไตย..เขารักษาด้วย.."กฎหมายรัฐธรรมนูญ"(Principle Law)
...กล่าวคือ...ประชาธิปไตยมาก่อน..รัฐธรรมนูญมาทีหลัง เหมือนกับพระพุทธเจ้า..ต้องกำหนดให้มี.."พระธรรมก่อน"...แล้วจึงมี.."ศีลมีวินัย"..ไว้เพื่อรักษาพระธรรมต่อไป (ในมรรคมีองค์ ๘...จึงเริ่มต้นด้วยส่วนของปัญญาก่อนคือ.."ความเห็นถูก(สัมมาทิฎฐิ)และความคิดถูก(สัมมาทิฎฐิ)"...แล้วจึงไปสู่ของศีลคือ.."พูดถูก..ทำถูก..เลี้ยงชีพถูก"...นั่นเอง
...หรือ..จะต้องมีการจุติในครรภ์มารดาก่อน..มีการเกิดเติบโตในครรภ์มารดา ๙ เดือน(ตอนนี้กฎหมายยังไม่รับรอง)...เมื่อคลอดออกมาแล้วอยู่รอด...กฎหมายจึงออกมารับรองว่าเป็นคนเพื่อคุ้มครองรักษาไว้ต่อไป...แต่ถ้าเราออกกฎหมายสร้างให้เกิดเช่นจะต้องมีอย่างนั้นอย่างนี้ น้ำหนักต้องหนักเท่านั้นเท่านี้ ขาแขนต้องใหญ่ยาวเท่านั้นเท่านี้ หน้าตาผิดพรรณต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องเป็นเพศนั้นเพศนี้....ฯลฯ...ก็จะทำให้เกิดไม่ได้เลย...เพราะไม่ถูกต้องตรงตามที่กฎหมายกำหนดไว้.."ห้ามเกิด"..หรือเกิดไม่ได้ นั่นเอง
......................................................................

เส้นทางของการเปลี่ยนแปลง



ชอบทางไหนครับ หรือจะเอาเส้นทางที่คุ้นเคย........
ถ้าท่านไม่อยากให้มีการปฏิวัติ หรือ เดินขบวนเรียกร้องกันอีก ให้เลือกทางด้านล่างครับ รับรองว่ายั่งยืน ทุกอย่างจะสงบร่มเย็น ความสามัคคีจะเกิด ท่านจะเป็นที่จดจำแต่ในสิ่งที่ดีงาม

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บรรยายความเลวร้าย ของ พ.ร.บ. ๑๑ ฉบับ


คุณณรงค์ โชควัฒนา บรรยายความเลวร้าย ของ พ.ร.บ. ๑๑ ฉบับ
สาระของกฎหมาย ๑๑ ฉบับเป็นหนังสือแสดงเจตจำนง (LOC) ที่ลูกหนี้ถูกบังคับให้เขียนเองเพื่อให้ IMF พอใจ
โดยมี Side Letter ที่เป็นหนังสือประกอบอีกหลายฉบับที่เป็นความลับ คนไทยไม่มีโอกาสรู้นอกจาก รัฐมนตรี
เปรียบเทียบก็เสมือนเป็นการให้เราฆ่าตัวตายโดยการขายทรัพย์สินถูกๆ เพื่อใช้หนี้ต่างประเทศ
สาระสำคัญ ๔ ประการของ พ.ร.บ. ๑๑ ฉบับ ที่ไม่ได้ดูผลประโยชน์ของคนไทยมีดังนี้
๑. เรื่องการซื้อขายที่ดิน คนต่างชาติมีสิทธิ์ซื้อคอนโดฯ และมีสิทธิ์เช่าที่ระยะเวลานาน ๕๐ ปี ต่อสัญญาได้อีกครั้งไม่เกิน ๕๐ ปี หากมีเงิน ๒๕ ล้าน ก็สามารถซื้อที่ดินได้ ๑ ไร่
๒. เรื่องอาชีพ ประเทศไทยเคยมีกฎหมายคุ้มครองสงวนอาชีพบางอาชีพให้คนไทย เนื่องจากสังคมไทยนั้น คนไทยบางคนก็อยู่ในสภาพที่ยังอ่อนแอ
อาทิ การค้าขายปลีก อาชีพนี้ ไม่ต้องใช้ความรู้ไม่ต้องใช้ทักษะอะไรมาก
แต่รัฐบาลก็กลับอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกรรมค้าปลีกได้
ในหลายประเทศ เช่นญี่ปุ่น จะมีการวางกฎระเบียบบังคับให้ศูนย์การค้าปฏิบัติเช่นให้หยุด ๑ วัน ใน ๑ อาทิตย์ ให้ตั้งห่างจากร้านค้าปลีก รวมถึงการกำหนดสัดส่วนระหว่างกัน
ณ วันนี้ เรามีศูนย์การค้าต่างชาติหลั่งไหลเข้ามา เช่น แม็คโคร โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ ฯลฯ ร้านขายปลีกของคนไทย กำลังทยอยเจ๊งปิดไปเรื่อยๆ
คนอ่อนแอ กำลังถูกคนแข็งแรงข่มเหงรังแก
Modern Trade เป็นระบบการค้าสมัยใหม่ที่ขายของเยอะก็จริงแต่ใช้คนให้น้อย พึ่งเทคโนโลยีให้มาก
การค้าวิธีการนี้ เหมาะกับประเทศที่ไม่มีแรงงาน ซึ่งไม่ใช่ในประเทศไทย เรายังไม่ถึงเวลา
๓. พ.ร.บ. ทุนวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจที่เป็นของรัฐบาลทั้งหมดจะแปลงเงินทุนให้เป็นหุ้น ให้กระทรวงการคลังศึกษาแล้วแปรรูปขายให้ต่างชาติ
เราเอาธุรกิจผูกขาดไปขายให้ต่างชาติทั้งหมด
ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ หลายประเทศ แก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ หนี้ยังไม่ลด มีแต่เพิ่ม และคนตกงาน มากขึ้น
และการแห่ขายในสถานการณ์ขณะนี้จะได้ราคาดีอย่างไร มันก็เหมือนการขายเลหลัง!
๔. เรื่อง พ.ร.บ. คดีทางแพ่ง กฎหมายล้มละลายมีการแก้ไขเพื่อให้ฟ้องได้เร็วขึ้น ยึดทรัพย์ได้รวดเร็วขึ้น
คดีมโนสาเร่ ที่ศาลตัดสินได้เร็วก็ได้ปรับเพิ่มขยายวงเงินฟ้องให้มากขึ้น
ทั้งหมดนี้เรียกกฎหมายขายชาติ เพราะเป็นกฎหมายที่ร่างขึ้นมาเพื่อคนต่างชาติโดยแท้!!!
(หมายเหตุ บรรยายเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ ณ พุทธสถานศาลีอโศก)

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาเรื่องของทรัพยากรณ์ของประเทศ


ในปัญหาเรื่องของทรัพยากรณ์ของประเทศ...
คนที่คอยตอบปัญหา ให้ประชาชนรับรู้ส่วนมากแล้วจะมีแต่พวกนายทุนเท่านั้นที่ตอบ โดยอ่างเหตุผลต่างๆนาๆ เพื่อผลประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก
และรัฐบาลก็จะฟังแต่พวกนายทุนเป็นหลักเช่นกัน ฟังประชาชนน้อยมาก ดังนั้น จึงอยากถามรัฐบาล 3 ข้อนี้
เพราะอยากรู้ว่า รัฐบาล เป็นของใครกันแน่ ระหว่างนายทุน กับ ประชาชน........
ขอทุกท่านช่วยแช่ร์ด้วยครับ.....ขอบคุณครับ

ผ่านความเห็นชอบของประชาชน


การแก้ไข หรือร่างรัฐธรรมนูญ ควรที่จะผ่านความเห็นชอบของประชาชน เพราะรัฐธรรมนูญ กฏเกณของประเทศ ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่ง หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง...

นโยบาย 66/2523


     นโยบาย 66/2523 คือนโยบายที่ถูกกำหนดขึ้นโดยฝ่ายบริหารของประเทศไทยในเวลานั้น 23 เมษายน 2523เพื่อให้มีชัยชนะเหนือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ค.ท,)ที่ปลุกปั่นยุยงให้ประชากรในชาติลุกขึ้นต่อสู้กับฝ่ายบ้านเมืองด้วยวิธีการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ ความขัดแย้งทางอาวุธและทางกำลังภายในประเทศ (Intern alarms conflicts) จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศเพื่อที่จะระงับยับยั้งมิให้สงครามกลางเมืองขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศฝ่ายบริหารประเทศไทยในขณะนั้น ภายใต้การนำของ ฯพณฯพลเอกเปรมติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงประกาศใช้นโยบาย 66/2523เพื่อสกัดกั้นและยุติ สงครามกลางเมืองด้วยการสร้างประชาธิปไตยทั้งระดับต่ำและระดับสูงนโยบาย 66/2523 ที่ถูกประกาศใช้ออกมานั้นมีสองขึ้นตอน กล่าวคือ


1.1 ขั้นตอนที่หนึ่งยุติสงครามโดยประกาศให้ราษฎรผู้หลงผิดหรือผู้ที่ได้ความบีบคั้นอย่างไม่เป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองถึงขั้นเข่นฆ่าและทำลายล้าง ซึ่งสิทธิเสรีภาพ ในชีวิตและอิสระเสรีภาพในร่างกายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามตามหลักกฎหมายธรรมชาติการวางอาวุธแล้วเข้ามอบตัวต่อทางราชการโดยทางราชการมิได้นำตัวไปดำเนินคดีอาญาตามกระบิลเมืองซึ่งผู้หลงผิดและผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมที่เป็นผู้บริสุทธิ์เหล่านั้นประกอบไปด้วยราษฎรนิสติและนักศึกษาและบรรดาครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่หลงผิดเพราะการปลุกปั่นยุยงจากพวกคลั่งลิทธิคอมมิวนิสต์(the agitators) เมื่อผู้หลงผิดและผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมที่เป็นผู้บริสุทธิ์เหล่านั้นได้เข้าใจในระบอบการปกครอง ของประเทศในขณะนั้นอย่างถูกต้องแล้ว ทางราชการไทยภายใต้แผนการการุณยเทพได้รับเอาผู้หลงผิดและบุคคลที่ได้รับรับความเป็นธรรมเหล่านั้นกลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ด้วยการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยเพื่อไปสู่การพัฒนาในทุกๆด้านและสามารถกลับเข้าสู่สังคมไทยใช้ชีวิตได้ตามปกติ ฝ่ายบริหารไทยในขณะนั้นจึงสามารถเอาชนะสงครามปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้โดยไม่ต้องเสียทั้งกำลังคนและอาวุธการต่อสู้และสามารถระงับยับยั้งสงครามกลางเมืองที่กำลังขยายตัวไปทั่วประเทศในรูปของสงครามประชาชน (People’s War) ให้สงบลงได้ นำเอาความสงบเรียบร้อยกลับเข้าสู่สังคมไทยดังเดิม


1.2 ขั้นตอนที่สอง คือขั้นตอนสร้างประชาธิปไตยนั่นก็คือสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ถาวรเต็มรูปแบบ (the SocialDemocratic System) เป็นไปในรูปแบบที่อาณาอารยะประเทศ (The civilized nations ) เขาใช้กันอยู่ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกา อาทิเช่นการใช้สิทธิ์และการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐาน(The fundamental rights & freedoms) แก่พลเมืองในประเทศนี้ทั้งในรูปแบบสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (The civil &politicalrights) ตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยคืออำนาจจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยการสร้างระบบการค้าและระบบเศรษฐกิจเสรีระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็งระบบการปฏิรูปที่ดินเป็นต้นอันเป็นการสร้างระบบเศรษฐกิจแห่งชาติสมัยใหม่ที่เป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้แล้วเสร็จแต่ในขั้นตอนที่สองนี้ ยังมิได้มีการลงมือปฏิบัติแต่อย่างใด


การนำนโยบาย 66/2523 มาใช้จึงมิอาจที่จะสัมฤทธิ์ผลเต็มรูปแบบไปได้ประเทศไทยจึงไม่อาจที่จะผกผันตัวเองให้พ้นจากวงจรอุบาทว์ทั้งในทางการเมืองและการปกครองไปได้ระบบเศรษฐกิจของประเทศทั้งระบบ จึงเต็มไปด้วยการผูกขาดตัดตอน ล้าหลัง และไม่สามารถที่จะนำพาประเทศเพื่อไปแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น สิงคโปร์และมาเลเซียเป็นต้นได้เลย เมื่อการแก้ปัญหาทางการเมืองซึ่งเป็นขั้นตอนของการสร้างชาติไม่อาจเกิดความมั่นคงได้ความมั่งคั่งในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือชาติไม่อาจพิจารณาแยกออกจากกันได้ต้องนำไปพิจารณาเป็นองค์รวมควบคู่ไปด้วยกัน

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=luangpengpinicha&month=16-10-2012&group=11&gblog=2


จุดเริ่มต้นของแนวคิด คำสั่ง 66/23 มีที่มาแนวคิดของนายทหาร อย่าง พล.ต. เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาพที่ 2 นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2517 ก็มีประสบการณ์อันเจ็บปวดเมื่อเดินทางเข้าไปในหมู่บ้านหลายหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

นั่นก็คือ ชาวบ้านไม่ไว้ใจตำรวจ ชาวบ้านไม่ไว้ใจทหาร และให้ความไว้วางใจพวกคอมมิวนิสต์ในป่ามากกว่า

เมื่อขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 พล.ต. เปรม ติณสูลานนท์ กับคณะทำงานอันประกอบด้วย พล.ต.ปฐม เสริมสิน, พ.อ.หาญ ลีนานนท์, พ.อ.เลิศ กนิษฐะนาคะ เป็นต้น เริ่มตระหนักว่าวิธีการปราบปรามอย่างเดียวไม่น่าจะได้ผล จำเป็นต้องใช้วิธีต่อสู้

นั่นก็คือ การต่อสู้ในทางความคิด

นั่นก็คือ การดึงเอาประชาชนมาเป็นฝ่ายเดียวกับทางราชการ

นอกเหนือจาก พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ 2 ยังมี พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา แม่ทัพภาคที่ 4 ที่เริ่มจัดตั้งชาวบ้านขึ้นเป็นอาสาสมัครป้องกันตนเอง โดยในขั้นแรกเอาชาวบ้านที่ได้รับผลสะเทือนจากฝ่ายคอมมิวนิสต์มาเป็นพวก

 ทั้งหมดนี้เองคือ "หน่อ" ความคิดในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ คือ "หน่อ" อันนำไปสู่บทสรุป "การเมืองนำการทหาร"

ขณะที่ พล.อ.สายหยุด เกิดผล กับ พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ และ พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา มีความเห็นร่วมกันในการจัดตั้งอาสาสมัครชาวบ้านในรูปแบบต่างๆ เพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์

 พ.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เสนอรูปแบบของ "ทหารพราน" ขึ้นมา

รูปแบบของ "ทหารพราน" เป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งจากการจัดตั้ง "อาสาสมัคร" อันเป็นรูปจัดตั้งของกระทรวงมหาดไทย

เป้าหมายอย่างแท้จริงของ "ทหารพราน" คือการย้อนรอย "คอมมิวนิสต์"

นั่นก็คือ เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นทหารที่ระดมมาจากชาวไร่ชาวนาในชนบท รัฐบาลก็จัดตั้ง "ทหารพราน" ขึ้นมาจากชาวไร่ชาวนาในชนบทเช่นเดียวกัน

รูปแห่ง "ทหารพราน" ที่ พ.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นผู้ริเริ่ม เมื่อประสานกับ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ของ พล.อ.สายหยุด เกิดผล ประสานกับอาสาป้องกันตนเอง อาสาป้องกันหมู่บ้าน ที่ริเริ่มโดย พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ และ พล.ท.สัณห์ จิตรปฏิมา

ก็ค่อยๆ ก่อรูปแนวคิดบนพื้นฐานแห่งหลักการ "การเมืองนำการทหาร" ขึ้นมา

อย่าลืมเป็นอันขาดว่า พ.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยเป็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของสถานีวิทยุ 20 และต่อมาก็เป็นนายทหารคนหนึ่งซึ่งเปิดใจกว้างในการศึกษาและเรียนรู้บทเรียนและประสบการณ์ทั้งของ นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร และ นายผิน บัวอ่อน

กระนั้น กว่าที่ คำสั่ง 66/2523 จะปรากฏในทางเป็นจริงก็เดินทางมาอย่างยาวนาน

มองจากเส้นทางของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็ต้องเริ่มต้นจากเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2517 ที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2

เดือนตุลาคม 2518 เป็น พล.ท.เปรม ติณสูลานนท์ แม่ทัพภาคที่ 2

เดือนตุลาคม 2519 เลื่อนขึ้นครองยศเป็น พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

และภายหลังรัฐประหารเดือนตุลาคม 2520 ก็ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

เดือนตุลาคม 2521 ขึ้นเป็น ผู้บัญชาการทหารบก

เดือนพฤษภาคม 2522 ภายหลังการเลือกตั้งเดือนเมษายน 2522 เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เดือนกุมภาพันธ์ 2523 พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออก

เดือนมีนาคม 2523 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

วันที่ 23 เมษายน 2523 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 จึงประกาศออกมา

http://politicalbase.in.th/index.php/คำสั่ง_66/2523

การแก้ปัญหาของประเทศ

การแก้ปัญหาของประเทศ....
คือ การแก้ปัญหา โดยการยอมรับอำนาจอธิปไตยของปวงชน
จากนักการเมือง ถ้าทำตรงนี้ได้ ปัญหาต่างๆก็จะถูกแก้ไขไปโดยอัตโนมัติ

เหตุที่ทำให้เกิดความรัก

เหตุที่ทำให้เกิดความรักมีแค่ 2 อย่างเท่านั้น

เตือนปัญหาของพันธุวิศวกรรม


อดีตนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งของศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(Biotec)ซึ่งบัดนี้ย้ายมาทำงานให้กับบริษัทมอนซานโต้ พยายามโน้มน้าว "คณะทำงานศึกษาแนวทางการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์มาใช้ในประเทศไทย" ในการประชุมที่กระทรวงเกษตรฯเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยบอกว่าจีเอ็มโอมันปลอดภัย เพราะในธรรมชาติการเคลื่อนย้ายยีนจากสิ่งมีชีวิตต่างชนิดเกิดขึ้นเสมอ การทำจีเอ็มโอไม่แตกต่างกับการผสมพันธุ์พืชโดยวิธีธรรมชาติ

ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ นักพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อภิปรายในเวที "เดินหน้าจีเอ็มโอ : บรรษัทกำไร ประชาชนไทยล่มจม" เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2557 ตอบโต้คำกล่าวอ้างดังกล่าวว่า

"นักวิทยาศาสตร์บางคนหรือหลายคนที่แม้จบวิทยาศาสตร์ปริญญาเอก รอบรู้ทุกเรื่อง คนเหล่านี้ออกไปพูดว่าจีเอ็มโอมันปลอดภัยๆ เพราะยีนกระโดดข้ามระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ตลอดเวลา อันนี้เขามโนไปเอง"

"เรื่องพันธุศาสตร์มันลึกซึ้งกว่านั้น การเรียงตัวของลำดับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหมายของมัน การปรับปรุงพันธุ์เกิดขึ้นจากแต่ละโครโมโซมมันจะจับคู่กันตามธรรมชาติ แต่นี่คุณเอายีนจากแบคทีเรียที่ผลิตสารพิษโยนใส่เข้าไป โดยไม่สนใจสิ่งที่มีอยู่ในจีโนมของสิ่งมีชีวิต ถ้าทำเช่นนี้ได้ปลอดภัย การผสมพันธุ์ข้ามชนิดข้ามอาณาจักรสิ่งมีชีวิตคงเกิดขึ้นทั่วไปแล้ว"

คำอภิปรายนี้สอดคล้องกับคำเตือนของ "ศาสตราจารย์ จอร์จ วอล์ด" นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาสรีระวิทยา/การแพทย์ ที่กล่าวเตือนปัญหาของพันธุวิศวกรรมเอาไว้ก่อนหน้านี้

* ผู้ที่สนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mindfully.org/GE/Case-Against-GE-Wald1979.htm

ไตรลักษณ์


ไตรลักษณ์
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

พระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนประมุขทางการปกครอง


เพราะประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นพระประมุข.........
ดังนั้น การที่มีใครบางคนใน สปช. เสนอให้มีการเลือกตั้งนายกโดยตรงนั้น ขอให้คิดเสียใหม่ครับ ให้สมกับคุณวุฒิของท่านที่ได้เข้าไปทำงานอันมีเกียรตินี้....

พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของประเทศ(Head of State)...มีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนประมุขทางการปกครอง(Head of Governmental Organization)..เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา...เช่นเดียวกับ ประธานาธิบดี ย่อมมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนประมุขทางการปกครอง เช่น ประธานาธิบดีทั่วโลก เช่น ประเทศจีน ประเทศรัสเซีย ประเทศอังกฤษ ฯลฯ ...ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา...ประธานาธิบดีไม่แต่ตั้งนายกรัฐมนตรี...แต่ประธานาธิบดีใช้อำนาจบริหารเอง...นี่คือหลักวิชาการทางรัฐศาสตร์ที่ถูกต้อง...

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน

วีระ  สมความคิด
เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.)

          ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ เพื่อเผยแพร่ให้มีการพิจารณาให้ข้อคิดเห็น เพื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาในขั้นตอนการแปรญัตติก่อนที่จะเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีความสมบูรณ์สำหรับให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้ออกเสียงประชามติต่อไปนั้น. เมื่อมาพิจารณาถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วจะพบว่าต้องการที่จะแก้ปัญหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจอย่างไม่เป็นธรรมการดำเนินการทางการเมืองที่ขาดความโปร่งใส ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ล้มเหลว และการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงมีสาระสำคัญที่มุ่งจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการใน ๔ แนวทางด้วยกัน คือ

๑. การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่        
๒. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม        
๓. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม        
๔. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            แต่จากการตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วไม่พบว่ามีมาตราใดหรือส่วนใดที่แสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการมีส่วนร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส ขาดคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม และทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่มีระบุอยู่ในสาระสำคัญที่มุ่งจะแก้ไข แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจและไม่จริงจังของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ทั้งที่มี “วรรคทอง” เป็นจุดขายทางการตลาดของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ว่า “เพิ่มอำนาจประชาชน ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ” (ความจริงอำนาจรัฐไม่ได้ลดลง แต่แบ่งไปให้กลุ่มขุนนาง ราชการ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับอำมาตยาธิปไตย) ที่ต้องการลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น การอ้างเหตุผลของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ บางท่านว่ากลัวประชาชนจะพากันแจ้งเรื่องร้องเรียนจนราชการไม่เป็นอันทำงานนั้น เป็นเหตุผลที่ไม่น่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจากประชาชนที่จะมีความรู้ความสามารถและมีความกล้าลุกขึ้นมาตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้นั้นไม่ได้มีจำนวนมากนักหรอก และการกระทำดังกล่าวไม่ใช่เรื่องสนุกที่จะลุกขึ้นมากลั่นแกล้งใส่ความกันได้อย่างง่ายๆ หากมีการกลั่นแกล้งใส่ความอย่างไม่เป็นธรรม ก็มีกฎหมายที่จะให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกกลั่นแกล้งใส่ความเท็จอยู่แล้ว หากคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เห็นประโยชน์ที่จะเกิดแก่การช่วยกันลดการผูกขาดอำนาจรัฐและการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันแล้วจึงจะยืนยันให้เห็นถึงการเพิ่มอำนาจประชาชน ลดการผูกขาดอำนาจรัฐอย่างแท้จริง กระบวนการใช้อำนาจของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง ต้องมีกลไกที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากที่ผ่านมาในรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช ๒๕๔๐ มีบัญญัติให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ไว้ในหมวด ๔ ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามมาตรา ๗๖ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีการยอมรับของทางราชการในการให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างแท้จริง ดังนั้น เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนทั้งหลายมีหลักประกันให้มั่นใจได้ว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะให้ประชาชนมีหลักประกันจากอำนาจที่มีอย่างเพียงพอในการติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (รัฐธรรมนูญ)  จึงขอเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา ๒๖ ขอให้เพิ่มวรรคสอง ว่า “การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ให้ถือเป็นสิทธิของบุคคลในการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง”

            ประเทศไทย มีปัญหาประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้นจริงและฝังรากลึกพอที่จะหลักสำหรับการปกครองของสังคมไทย เรามักเข้าใจว่าหลังจากที่คณะราษฎรทำการสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญ คือเครื่องมือสร้างประชาธิปไตย แต่ความจริงแล้วรัฐธรรมนูญเป็นเพียงเครื่องมือรักษาระบอบการปกครองที่เป็นจริงอยู่ในขณะนั้น.

            พรรคการเมืองไทย ไม่มีลักษณะเป็นพรรคมวลชนจึงไม่มีพลังพอที่จะทำภารกิจสร้างประชาธิปไตยและแก้ปัญหาของชาติได้สำเร็จ ทำได้เพียงส่งคนสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น จึงทำให้เกิดรัฐประหารมีการฉีกรัฐธรรมนูญ  ต้องมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่แล้วจัดให้มีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งผลัดเปลี่ยนกันมาบริหารประเทศได้อย่างเก่งที่สุดไม่เกิน ๑๕ ปี ก็จะเกิดวิกฤติหรือทางตันทางการเมือง ก็จะเกิดรัฐประหารขึ้นอีกเป็นอยู่เช่นนี้โดยตลอด ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง เกิดการชะงักงัน และเป็นสาเหตุของปัญหาความยากจนของคนในชาติ.

            ตราบใดที่ยังไม่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ปัญหาสำคัญของชาติต่างๆเช่นปัญหาความยากจน เป็นต้น ก็ไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ ถึงแม้จะมีรัฐบาลที่มีความสามารถสูงเพียงใดก็ตาม

            รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ จัดว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา มีองค์กรอิสระต่างๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

            เมื่อมีบทบัญญัติใหม่เพิ่มขึ้น ย่อมมีปัญหาในการปฏิบัติ เช่น การตีความ การไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญจึงเกิดความขัดแย้ง สับสน และละเมิดรัฐธรรมนูญมากมายทั้งส่วนราชการ ศาล องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนักการเมือง พรรคการเมือง รวมทั้งประชาชน

            ดร.อนันต์ บูรณวนิช ประธานองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน) กล่าวว่า ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะเหตุแห่งความยากจน ความไม่เป็นธรรมในสังคม และความขัดแย้งขยายเพิ่มมากขึ้นในองค์กรต่างๆ และเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อชาติบ้านเมือง

            นายชัยชนะ หมายงาม สมาชิกองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน) ประจำจังหวัดสระแก้ว เห็นว่าการใช้อำนาจรัฐตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับชาติส่วนใหญ่ ไม่เป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นเหตุให้ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง ถูกอิทธิพลอำนาจมืดรังแกอยู่ทุกหนทุกแห่ง อำนาจรัฐไม่สามารถคุ้มครองประชาชนได้  “เมื่อการใช้อำนาจอธิปไตยไม่เป็นของประชาชนโดยประชาชนแล้ว ปัญหาอื่นๆจะเกิดต่อเนื่อง เช่น ประชาชนถูกลิดรอนสิทธิ เสรีภาพ ขาดความเสมอภาค กฎหมายไม่เป็นประชาธิปไตย จำกัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ขาดความเสมอภาคด้านโอกาส เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ดังนั้น สังคมไทยยังห่างไกลความเป็นประชาธิปไตยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว องค์กรอิสระที่รัฐตั้งขึ้นมา เช่น กกต. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และตรวจสอบกันเอง รัฐตรวจสอบรัฐ ที่ผ่านมาจึงเป็นที่ประจักษ์ว่าการตรวจสอบต่างๆ ไม่มีประสิทธิภาพ”

             ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีประชาชนเข้าไปมีบทบาทในการตรวจสอบด้วย เช่น องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน) เพราะประชาชนในพื้นที่ย่อมรู้ดีว่า ข้าราชการ พนักงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุจริตคอร์รัปชัน บริหารงานด้วยความโปร่งใสหรือไม่

            “การเลือกตั้งผู้แทนฯ แต่ละครั้งมีการทุจริต ผู้นำหมู่บ้านรู้ทั้งนั้น แต่ไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ให้ประชาชนมีอำนาจในการตรวจสอบจึงเป็นความหวังว่ารัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ จะเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง”

ขอจงหยุดในการสร้างค่านิยมให้ข้าราชการในทางที่ผิดๆ


ขอจงหยุดในการสร้างค่านิยมให้ข้าราชการในทางที่ผิดๆ