วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เมื่อร้านค้าถูกคลุกคลาม


จุดเริ่มต้นแก๊งไถเงินครับ
1 เริ่มด้วยการตั้งบริษัทจำกัด แล้วรวบรวมขอซื้ออำนาจดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
จากเจ้าของลิขสิทธิ์จริงเท่าที่ทำได้ เช่นเพลง กระเป๋า น้ำหอม เกม การ์ตูน
โดยบริษัทเหล่านี้จะอ้างคุณธรรม ตั้งเพื่อปราบผู้ละเมิดลิขสิทธิ์
2 บริษัทเหล่านี้จะหาตัวแทน(ก็คือการรับพนักงานบริษัทตัวเอง)
3 ตัวแทนเหล่านี้จะหาสมาชิกแบบขายตรงเลยครับ เรียกว่าผู้รับอำนาจช่วง
4 ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองครับ แต่ก็มีโรงพักบางแห่งไม่ให้ความร่วมมือกับพวกโจร
5 เดินสายจับแบบผิดกฎหมายครับทีละจังหวัด ย้ายไปเรื่อย วนเวียนกลับมาทุกๆ 3-6เดือน
6 มีการทำธุรกิจนี้มาหลายปีแล้วครับ ประมาณ 7 ปี
การไถเงินร้านเน็ต ร้านเกม PC
1 ไถแบบจับลิขสิทธิ์ MP3
1.1 หน้าม้าจะแอบมานั่งเล่นแล้วแอบโหลด MP3 ลงเครื่อง
1.2 ตัวแทนลิขสิทธิ์ จะเข้ามาจับโดยไว จ้างตำรวจมาเป็นเพื่อน 2 นายเหมือนเดิมครับ(คนละ500)
1.3 ตัวแทนจะอ้างลิขสิทธิ์เพลง และเรียกเงิน 50000 บาท โดยให้จ่ายกันเองก่อน
1.4 หากรายไหนหัวแข็งจะพาไปโรงพัก โดยตำรวจ100เวรจะกล่อมให้จ่าย (มันจะเลือกแจ้งความเวลาที่100เวร ที่ร่วมแก๊งเข้าเวร)
1.5 จะโดนขู่มากมาย เช่น ประกันเป็น 100000 หรือหากขึ้นศาลจะโดนปรับเป็น แสนๆ
โม้ครับ ประกันจริง 50000 บาท ศาลไม่ปรับครับเจ้าของร้านชนะแน่นอน
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
-อย่าจ่ายเงินเด็ดขาด เพราะคดีนี้เจ้าของร้านชนะแน่นอน เพราะในชั้นศาลไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้ลงMP3
-ปิดร้าน แล้วก็ไม่ต้องไปไหนทั้งนั้น เพราะถ้าลิขสิทธิ์ของแท้จะมีหมายศาลและตำรวจจะพูดแสดงโจ่งแจ้งว่าจับคุณจริง และไม่มีการเรียกเงินค่าไถ่ และประเด็นสำคัญ ลิขสิทธิ์ของแท้ไม่จับคดีกระจอกๆแบบนี้
2 ไถแบบยัดเยียดหัวเกรียนเล่นผิดเวลา หากร้านไหนใช้เกมแท้ทั้งหมดจะเจอไม้นี้แทน มีวิธีดังนี้
2.1 หากร้านไหนเผลอ โจรจะแอบส่งหัวเกรียนอายุน้อยๆ ต่ำกว่า 18 ให้มานั่งเล่นเกินเวลา
2.2 นัดแนะตำรวจมาจับตรงเวลาแป๊ะๆ คือ 22.01น
2.3 ดิ้นไม่รอดครับตำรวจจะไถเงิน 50000 เช่นกัน ถ้าไม่จ่ายโดนจับไปโรงพัก
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- อย่าให้หัวเกรียนเล่นเกินเวลาห้ามพลาดเด็ดขาด
- ถ้าโดนจับอย่าแอบจ่ายใต้โต๊ะเพราะมันแพง ยอมโดนจับและเตรียมเงินประกันครับ สู้กันในศาล ศาลจะดูเจตนาครับ โดนปรับนิดหน่อย
- ถ้าผิดจริงโดยจงใจให้เด็กเล่นเกินเวลาเพื่อหวังเงิน ขอให้สารภาพตามตรงจ่ายในศาลนะครับ แล้วที่หลังอย่าทำอีก
การไถเงินร้านเกมเพลย์
วิธีหากินมีหลายรูปแบบครับ-
1 ไถแบบจับลิขสิทธิ์เกมในร้าน มีวิธีดังนี้
1.1 คนที่จะหากินในทางนี้จะตรวจดูว่าเกมไหนที่กำลังฮิตและไม่มีลิขสิทธิ์ เมื่อพบจะทำทุกวิถีทางติดต่อกับต่างประเทศเพื่อขอเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์
1.2 ตะเวนจับร้านเกม โดยการเข้าจับใช้ขั้นตอนที่ผิดกฎหมาย โดยจะจ้างตำรวจมา 2นาย ตำรวจได้คนละ500บาท(แต่ตำรวจจะออกตัวว่า มาดูแลความเรียบร้อย)
1.3 เมื่อเข้าจับจะยังไม่เอาผิดตามกฎหมาย แต่จะไถเงินจำนวน 50000 บาทขึ้นไป(ถ้าเอาผิดตามกฎหมายจะได้เงินน้อย เพราะศาลจะให้ชดใช้ตามจำนวนจริง ประมาณ 2000 บาท)
1.4 เหยื่อส่วนใหญ่จะตกใจและกลัว จะยอมจ่ายเงินให้ 5000 บาท หรือต่อรองเหลือ 40000 30000 10000 เมื่อได้เงิน พวกลิขสิทธิ์จะรีบกลับโดยเร็ว
วิธีแก้เบื้องต้น
- อย่ายอมจ่ายเงินทุกๆกรณี เพราะของแท้จะไม่เรียกเงินและของแท้จะไม่มาจับกระจอกๆแบบนี้ครับ
2 ไถแบบยัดเยียดหัวเกรียนเล่นผิดเวลา หากร้านไหนใช้เกมแท้ทั้งหมดจะเจอไม้นี้แทน
..............................................................
ข้อกฎหมาย ที่ต้องรู้ครับ
ล่อซื้อพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 66 บัญญัติว่า ความผิดตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้ผลทางกฎหมายคือ เจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ถึงการละเมิดมิฉะนั้นจะขาดอายุความร้องทุกข์ และการแจ้งความร้องทุกข์จะต้องกระทำโดยผู้เสียหาย หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายจะต้องเป็น
"ผู้เสียหายโดยนิตินัย"
แต่หากผู้เสียหายเป็นผู้มีส่วนร่วม หรือก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น ก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543
การที่จำเลยกระทำความผิดโดยทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ส. ตามที่ส.ได้ ล่อซื้อนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของส.
ซึ่งได้รับการจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เพราะฉะนั้น การล่อซื้อและการส่งหน้าม้ามาลงเพลงในคอมพิวเตอร์/การล่อเล่นในกรณีเกมส์เพลย์ จึงเป็นกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกานี้ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้อง
..........................................................
ข้อย่อยที่ช่วยได้เบื้องต้น ยาวแต่ต้องอ่านนะครับ มันสำคัญทุกข้อครับ
1 จับกุมลิขสิทธิ์ได้ก่อนพระอาทิตย์ตกดินเท่านั้น ถ้ามาตอนมืด ถึงจะถูกต้องก็ไล่กลับไปได้เลย
2.หากมีคนอ้างเป็นตัวแทน ขอดูบัตรประชาชน ดูใบรับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ดูบัตรของผู้รับมอบจะต้องมีบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าไม่ให้ดูไล่พวกมันกลับไปได้เลย
3 การล่อเล่นของหน้าม้า เป็นการร่วมกระทำความผิด ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์
4 ร้านคอมฯปฏิเสธไม่ให้ตรวจเครื่องคอมฯได้นะครับถ้ามันไม่มีหมายค้น ในส่วนของตัวร้าน(สาธารณสถาน)อยากตรวจก็ให้ตรวจไป แต่เครื่องคอมฯไม่ใช่สาธารณสถานเรามีสิทธิปฏิเสธไม่เปิดให้ตรวจสอบได้
5 ตัวแทนลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิ์อธิบายขั้นตอนการจับกุม กฎหมายเขียนชัดเจนให้เป็นหน้าที่ของตำรวจชุดจับกุมให้เป็นผู้จัดทำบันทึกการจับกุม ไม่มีกฎหมายให้อำนาจราษฎรทำ เป็นข้อต่อสู้ของจำเลยข้อหนึ่งได้ว่ามันมั่วนิ่มไม่รู้กฎหมายแล้วมาจับ
6 ราษฎรก็จะช่วยตำรวจจับไม่ได้แม้ตำรวจจะขอให้ช่วยจับ เพราะ ตำรวจจะขอให้ราษฎรช่วยจับได้ต้องเป็นผู้จัดการตามหมายจับเท่านั้น(เช่น โจรที่มีหมายจับ) แต่การจับละเมิดลิขสิทธิ์ในความผิดซึ่งหน้าไม่ใช่การจัดการตามหมายจับ เราจึงมีสิทธิป้องกันการจับกุมอันมิชอบด้วยกฎหมายทั้งปวงกับราษฎรที่มาช่วย
จับได้ตามสมควร(ต่อสู้ป้องกันตามสมควร อย่าให้ถึงตายนะครับ แบบนั้นติดคุกฐานฆ่าคนตาย ควรใช้กระบองป้องกันตัว)ไม่มีความผิดทางอาญาใดๆ
7 การล่อเล่น ไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ ราษฎรก็ล่อเล่นได้ (แต่การล่อเล่นในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็นการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ศาลจะยกฟ้อง) เหมือนข้อ3
8 จะเป็นความผิดซึ่งหน้า ต้องดูที่ลักษณะของการกระทำ ไม่ใช่ดูที่ตัวผู้ล่อเล่นว่าเป็นตำรวจหรือไม่เป็นตำรวจ ความผิดซึ่งหน้า หมายถึง ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใด ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ (ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 80)
9 ดูที่ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญามาตรา 79 ราษฎรก็สามารถจับความผิดซึ่งหน้าได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ แต่ต้องเป็นความผิดบางประเภทเท่านั้น (คือความผิดที่บัญญัติไว้ท้ายประมวลป.วิอาญา) เช่น ฐานฆ่าคนตาย เป็นต้น แต่ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่ความผิดท้ายประมวลฯ ราษฎรจึงจับไม่ได้แม้เห็นความผิดเกิดขึ้นซึ่งหน้า
10 การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเกิดซึ่งหน้าตำรวจเท่านั้นเช่นนั่งไลท์แผ่นต่อหน้าต่อตาตำรวจตำรวจ
จึงจะมีอำนาจจับกุม (และต้องมีการแจ้งความแล้ว ถ้ายังไม่แจ้งความก็ไม่มีสิทธิ์จับในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์)
ถ้าการละเมิดเกิดต่อหน้าตัวแทนบริษัท(หน้าม้า) แม้จะถ่ายรูปไว้ ถ้าขณะนั้นตำรวจไม่ได้เห็นด้วย(ตำรวจอยู่นอกร้าน-มาทีหลัง) ก็ไม่มีอำนาจจับกุมครับ
11 การค้นในที่รโหฐาน เช่น ส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีหมายค้น ถ้าเข้าไปยึดแผ่นเโดยไม่มีหมาย
ก็เป็นการค้นที่ไม่ชอบ ทรัพย์สินที่ยึดไปไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ต้องห้ามตามกฎหมาย
เพราะฉะนั้น ถ้าขึ้นศาลก็จะไม่มีพยานหลักฐานนำสืบแสดงว่าเราทำผิด (แม้เราละเมิดจริง แต่เมื่อไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเราทำผิด เพราะหลักฐานที่ยึด ได้มาจากการค้นที่ไม่ชอบ) ศาลจะยกฟ้อง
12 หลัก ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลไม่ได้(ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอ
าญามาตรา78) ข้อยกเว้น จะจับโดยไม่มีหมายจับก็ได้ เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า และเหตุอื่นตามที่กฎหมายกำหนด (ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 80) คดีละเมิดลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิ์จับ
แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เช่นคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องมีการแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายหรือตัวแทนเสียก่อน ตำรวจจึงจะมีอำนาจจับ ดังนั้น ถ้ายังไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ อำนาจจับกุมก็ยังไม่เกิด แม้จะมีการละมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นต่อหน้าตำรวจ ตำรวจก็จับไม่ได้
.....................................................
การเอาผิดกลับ
ปัจจุบันโทษรุนแรงเพียงพอแล้วครับ เพียงแต่พวกเราไม่มีใครเอาจริงเท่านั้น
เพราะถ้ามั่วนิ่มมา เราก็สามารถเอาผิดได้ หลายข้อหา เช่น
1. ฐานบุกรุก มาตรา 362 และ 364 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำและปรับ
มาตรา 365 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ
2. ฐานแจ้งความเท็จ มาตรา 137 จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำและปรับ
มาตรา 172 จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับมาตรา 174 จำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
3. ฐานเบิกความเท็จ มาตรา 177 จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นหรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ฐานฉ้อโกง มาตรา 341 จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (คือโดยทุจริต
รู้อยู่ว่าตนไม่มีอำนาจจับ แต่ได้หลอกลวงว่าตนมีอำนาจเช่นว่านั้น และการหลอกลวงนี้ทำให้ได้เงินจากเราไป ก็จะผิดฐานฉ้อโกงนี้)
5. ฐานกรรโชกทรัพย์ มาตรา 337 คือถ้ามีการบังคับข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สาม จนยอมเช่นว่านั้น มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น ถ้าการกรรโชกทำโดยขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายฯ หรือมีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท จะผิดข้อหาใด ฐานใดต้องดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะพิจารณาและหาพยานหลักฐานที่บอกว่าควรจะต้องตรวจสอบก่อนนั้นว่ามั่วมาหรือไม่----
กรณีนี้ ตัวแทนนำจับรู้ตัวมันอยู่แต่แรกแล้วว่าตัวเองมีสิทธิหรือไม่ เป็นการกระทำโดยเจตนาชัดเจน
หน้าที่ในการตรวจสอบเป็นของตำรวจ ก่อนรับแจ้งความต้องตรวจสอบเอกสารให้ละเอียดว่าผู้แจ้งมีอำนาจแจ้งหรือไม่ ใครเป็นผู้รับมอบอำนาจ ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องมีเอกสารชัดเจนจึงจะรับแจ้งความได้
ถ้าตำรวจบกพร่องละเลยไม่ตรวจสอบแล้วรับแจ้งความ ถ้าปรากฏภายหลังว่าการแจ้งความไม่ถูกต้อง ไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจจริง ตำรวจจะมีความผิดทั้งทางวินัยและอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 เราสามารถเอาผิดได้ทั้งตัวแทนนำจับและตำรวจครับ ถ้าตัวแทนมั่วมาแต่ถ้าเขามีสิทธิจริง เราก็ค่อยมาดูถึงวิธีการค้นและจับว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถ้าวิธีการค้นและจับไม่ชอบด้วยกฎหมาย เราก็สามารถเอาผิดกับพวกมันและตำรวจที่มาส่ง ได้เช่นกัน
"แต่มีข้อเน้นย้ำนะครับ เน้นย้ำ ที่บอกว่า จับไม่ชอบนั้น ผมอยากจะบอกว่า
ถึงแม้ว่า การจับถึงจะไม่ชอบแต่ก็ไม่ได้ทำให้การสอบสวนนั้นไม่ชอบไปด้วย "
อันนี้คุณ พูดหลอกลวงได้สุดๆเลยครับ
ข้อพื้นฐานเลยครับ การเข้าจับโดยมิชอบ ค้นโดยมิชอบนั้น หลักฐานที่ได้มาทั้งหมดจะได้มาโดยมิชอบ - ศาลยกฟ้องครับ
..............................
Cr:PANTIP.COM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น